วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

งาช้างดำ






งาช้างดำ ณ จังหวัดน่าน


  งาช้างดำ

ประวัติความเป็นมา
งาช้างดำมีลักษณะเป็นงาปลียาว 97 เซนติเมตร วัดโดยรอบตรงส่วนใหญ่ที่สุด 47 เซนติเมตร โพรงตอนโคนลึก
14 เซนติเมตร  สีออกน้ำตาลเข้มไม่ดำสนิท มีจารึกอักษรล้านนาภาษาไทยว่า “กิ่งนี้หนักหนึ่งหมื่นห้าพัน” หรือประมาณ 18 กิโลกรัม
สันนิษฐานว่าเป็นงาข้างซ้ายเพราะมีรอยเสียดสีกับงาชัดเจน ความเป็นมาของงาช้างดำนี้ไม่มีหลักฐานแน่ชัด มีเพียงตำนานเล่า
สืบต่อกันมา 2 เรื่อง


      เรื่องที่  1  กล่าวว่าในสมัยพระเจ้าสุมนเทวราช  เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน  (พ.ศ.2353-2368)  มีพรานคนเมืองน่านได้เข้าป่า
ล่าสัตว์เข้าไปถึงเขตแดนระหว่างไทยกับเชียงตุงได้พบซากช้างตัวดำสนิทตายในห้วย พอดีกับพรานชาวเชียงตุงมาพบด้วยพราน
ทั้งสองจึงแบ่งงาช้างดำกันคนละข้าง ต่างคนก็นำมาถวายเจ้าเมือง ต่อมาเจ้าเมืองเชียงตุง ได้ส่งสารมาทูลเจ้าสุมนเทวราชว่า ตราบใดงาช้างดำคู่นี้ไม้สูญหาย  เมืองน่านกับเมืองเชียงตุงจะเป็นมิตรไมตรีกันตลอดไป


      เรื่องที่ 2 กล่าวว่าเมืองน่านยกทัพไปล้อมเมืองเชียงตุงหลายเดือน ทำให้ชาวเมืองเชียงตุงเดือดร้อนโหรเมืองเชียงตุงทูล
เจ้าเมืองว่าเป็นเพราะมีงาช้างดำอยู่ด้วยกัน ทางที่ดีควรแยกออกจากกัน  จึงนำงาช้างดำกิ่งหนึ่งมอบให้กองทัพเมืองน่านแล้วกระทำสัตย์สาบานเป็นมิตรกันตลอดกาล
 ความสำคัญของงาช้างดำนี้เชื่อกันว่า พญาการเมือง เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 6 ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ได้ทำพิธีสาปแช่งเอาไว้ว่า  ให้งาช้างดำนี้เป็นของคู่บ้านคู่เมืองน่านตลอดไป ผู้ใดจะนำไปเป็นสมบัติส่วนตัวมิได้  ต้องไว้ที่หอคำหรือวังเจ้าผู้ครองนคร
เท่านั้น งาช้างดำเป็นวัตถุมงคลคู่บ้านคู่เมืองน่านและถือเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของจังหวัดน่าน  เป็นวัตถุโบราณที่หายากและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างมาก


ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น